ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

PE คือ อะไร? เลือกหุ้นอย่างไร ให้กำไร

 

PE คือ อะไร? เลือกหุ้นอย่างไร ให้กำไร

PE คือ อะไร?

 

PE คือ อะไร? เลือกหุ้นอย่างไร ให้กำไร

P/E Ratio คืออัตราส่วนทางการเงินที่เทียบกันระหว่าง Price/Earning Per Share (ราคา หารด้วย กำไรสุทธิต่อหุ้น)

โดย P/E Ratio เป็นตัวบอกว่า ถ้าเราซื้อหุ้นที่ราคาเท่านี้ ตอนนี้ เราจะได้ทุนคืนในอีกกี่ปี หากบริษัทยังทำกำไรได้เท่าเดิมในทุกๆ ปี

ถ้าเรียงประโยคแบบภาษาคน ก็คือการนำราคาหุ้น หารด้วย กำไรต่อปี แล้วดูว่าราคาเป็นกี่เท่าของกำไร หรือ ซื้อตอนนี้ อีกกี่ปีคืนทุนนั่นเอง!!

ตัวเลขนี้ หากยิ่งต่ำ หุ้นก็จะถูกมองว่าถูก ซื้อแป๊บเดียวก็คืนทุนแล้ว!?

แต่ช้าก่อน!! หุ้น P/E ถูกๆ ใช่ว่าจะดีเสมอไป เพราะมันอาจจะสะท้อนความกังวลบางอย่างต่อบริษัทก็ได้??…

แล้วเราจะใช้ P/E Ratio เลือกหุ้นอย่างไร ให้กำไร

P/E หรือ PE ราคาปิดเทียบกำไรสุทธิ … Ratio นี้มีความหมายซ่อนอยู่เยอะ และมีวิธีใช้ประโยชน์จากมันเยอะเช่นกัน วันนี้จะนำเสนอเทคนิคที่ BottomLiner ใช้ประจำครับ มันสะท้อนจิตวิทยาลงทุนของนักลงทุน

ก่อนอื่นต้องเข้าใจความหมายของ P/E มาจาก ราคาต่อหุ้น (Price) หารด้วย กำไรต่อหุ้น (EPS) เราจะมองมัน เสมือนเราคิดจะทำธุรกิจจริงๆ

ยกตัวอย่าง: ท่านเข้าไปซื้อตอนหุ้น P/E 10 เท่า ราคา 10 บาท ต่อหุ้น ณ ขณะนั้น บริษัทมีกำไรสุทธิ 1 บาทต่อหุ้น ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา แสดงว่า ถ้าบริษัทสามารถทำกำไรได้เท่าเดิม ท่านจะได้เงินปีละ 1 บาท แปลว่า 10 ปีคืนทุน

ท่านอาจจะเห็นหุ้นที่ขึ้น 100% โดยที่ P/E จาก 10x ไป 20x

แล้วแบบนี้นักลงทุนที่ซื้อหุ้น ที่ P/E 20x เค้าคิดจะรอนานขนาดนั้นเชียวหรือ? คำตอบคือไม่ใช่

เพราะบริษัทสามารถเติบโตได้ครับ E ที่เห็นนั้นคืออดีต

ดังนั้นหากคิดด้วยหลักเหตุผล สิ่งที่ทำให้คนซื้อเข้าไป คือความคาดหวังล้วนๆ คิดว่าธุรกิจจะดี มีกำไร (E) จะโตโต๊โต ปีละ 20 30% จนปีถัดๆไป P/E จะลดลงมาโดยปริยาย (แม้ส่วนมากไม่คิดเลข แค่คิดว่ามันจะดีๆ ก็รวมเข้าเคสนี้ครับ)

เช่น หุ้นราคา 100 บาท EPS 10 บาท หุ้นตัวนี้จะมี PE 10x

เมื่อเวลาผ่านไป EPS จาก 10 บาทเติบโต 30% เป็น 13 บาท แต่หากราคาหุ้นยังอยู่ที่เดิม PE ก็จะลดลง เหลือ 7.7x … เมื่อการลงทุนคือการคาดหวังอนาคต หุ้นอะไรเติบโตปีละ 30% หากปีหน้ายังโต 30% อีก แต่ตอนนี้ PE 7.7x … ช่างดูน่าสนใจเหลือเกิน นักลงทุนก็จะแห่กันเข้ามาซื้อ ดัน PE ให้สูงขึ้นนั่นเอง ไปสู่ 20x 30x 40x แล้วแต่ความคลั่งของตลาด ณ ตอนนั้น หากท่านลองไล่เปิดดูหุ้นดีๆ จะพบว่าหุ้นมักจะมี growth สูงตาม

หมวดหมู่หุ้นกับค่า P/E

โดยทั่วไปแล้วหลัก ๆ เราอาจจะแบ่งหุ้นตามลักษณะ P/E ได้เป็น 2 กลุ่ม

1) หุ้นมูลค่า (Value Stocks)

หุ้นที่มีทรัพย์สิน หรือหลังจากคิดมูลค่าเนื้อแท้ของบริษัทแล้ว ราคาในตลาดต่ำกว่าความเป็นจริง หรือหุ้นที่ดูมูลค่าได้นั่นเอง แต่ถึงอย่างนั้นหุ้นเหล่านี้ราคาก็ไม่ได้สะท้อนตาม value จริง ๆ เสมอไป อาจจะมีช่วงที่ราคาต่ำกว่าความเป็นจริงหรือสูงกว่าความเป็นจริงจากความไม่สมเหตุสมผลของคนนั่นเอง

ตลาดมักจะมองว่ากลุ่ม value มี P/E ที่ไม่สูงจะมีค่า P/E ที่ไม่สูงมากอาจจะ 10x 20x ว่ากันไป … แต่จริงๆแล้วก็คือมี EPS growth ที่ไม่สูงนัก 

2) หุ้นเติบโต (Growth Stocks)

เป็นหุ้นที่เล่นล้อไปกับอนาคต ราคาแพง PE สูง 

เนื่องจากคาดหวังการเติบโต คาดหวัง EPS Growth ที่สูง  หรือราคาอาจให้ความหวังไปกับสตอรี่และนวัตกรรมต่าง ๆ ในอนาคต

ดังนั้นเราจึงเห็นค่า PE สูง ๆ ในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีหรือกลุ่ม Healthcare ที่มีโปรเจคเปลี่ยนแปลงโลกในอนาคตต่าง ๆ โดยอาจจะสูงถึงหลัก 100x หรือ 1,000x ก็มีมาแล้ว! (เนื่องจากฐานต่ำ หรือมองว่าเป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก มูลค่าตลาดมหาศาลรออยู่)

ต้องคำนึงไว้อย่างนึงด้วยว่า หุ้นเติบโตเป็นหุ้นที่เล่นไปกับอนาคตผ่านความคาดหวังที่ค่อนข้างสูงซึ่งอาจมีความไม่แน่นอนได้ เช่น บริษัทอาจวางแผนพัฒนา product ขึ้นมาซึ่งคาดการณ์ว่าจะเสร็จในปี 20XX แต่เลื่อนกำหนดการณ์ออกไป ส่งผลให้นักลงทุนผิดหวังและราคาอาจจะปรับตัวลงมารุนแรงจากค่า P/E ที่สูงกว่า

และรู้หรือไม่ ตลาดซื้อขายบนความรู้สึก เทียบอะไรที่เทียบได้ เช่น ดูจากอดีต หรือเปรียบเทียบกับคู่แข่ง ธุรกิจที่ใกล้เคียงกัน หุ้นทุกตัวจะมี P/E Band ของมันอยู่ (แล้วแต่อุตสาหกรรม) เช่น โดยปกติแล้ว จะให้ P/E 20x ในช่วงแย่ให้ 10x ช่วงบูมให้ 40x จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เช่น มีวิกฤตกำไรหาย P/E จะสูงมากชั่วคราว หรือมีอะไรแปลกๆเข้ามาให้หุ้นขึ้นจนต้องร้องขอชีวิต

ความคาดหวังกับค่า P/E

ถ้ามองดีๆ P/E ก็คือตัวสะท้อนความคาดหวังนั่นเอง ถ้าคาดหวังเยอะ P/E ก็จะสูง ถึงตรงนี้เอง เราสามารถมองหุ้นขึ้น ได้ 2 แบบ โดยแตก P และ E ออกจากกัน คือ

1) เกิดความคาดหวัง จึงแห่กันซื้อ โดยที่งบไม่ออก จนผลักราคา (P) ขึ้น ทำให้ PE สูงขึ้น (re-rating) – พวกนี้คือ เล่นข่าว โดยเฉพาะเรื่องที่สามารถทำให่คนเชื่อได้ว่ามันจะกลับไปดี

2) กำไรเติบโตจริง แต่ตลาดคิดไม่ทัน ทำให้ E ที่เป็นตัวหารสูงขึ้น PE รวมลดลง คนเห็นว่าถูก เห็นงบดี ก็รีบแห่ๆกันตามซื้อเข้าไป (มักจะเกิดขึ้นในช่วงธรรมดา หรือแย่)

โดยทั่วไป หุ้นมักจะขึ้นแบบที่ 1 และหลังจากนั้นไม่นาน กำไรก็จะตามมา จนถึงจะหนึ่ง ที่กำไรตามไม่ทัน จุดนั้นก็จะเกิด อาการ (de-rating) คือ P/E ลดลง เพราะเชื่อว่างบในอนาคต จะไม่ดี กำไร (E) จะหายไป

นี่คือวัฏจักรหุ้น ที่พบเห็นเป็นทั่วไป คำว่าหุ้นดี มักจะเกิดตอนที่หุ้นขึ้นไปแล้ว งบดีต่อเนื่อง เม่าเข้าไม่หยุด แต่ไม่รู้ทำไมหุ้นมันไม่ขึ้นต่อสักที เป็นเพราะมันเลยจุด P/E re-rating ไปแล้ว ไปอยู่ที่ช่วงรอดูผลประกอบการณ์จริงๆว่า ดี สมควรค่าแก่ ความคาดหวัง ขนาดนี้หรือไม่

ดังนั้น ถ้าเล่นรอบหุ้นขาขึ้น ไม่ต้องกังวลคำว่าแพง ถ้ามันยังมีสตอรี่ แต่ให้ระวังถ้า Earning Growth ตามไม่ทัน เช่นกลุ่มโรงพยาบาลอย่าง BDMS คือตัวอย่างที่ดี สตอรี่เริ่มต้นจาก แย่งกันเป็นเจ้าของ ไม่พอ ธุรกิจโรงพยาบาลอนาคตสดใส โรงพยาบาลมีไม่พอ หุ้นวิ่งขึ้นมาจนได้รับการกล่าวขานเป็นหุ้นเทพ แต่แล้วก็แช่แป้งเป็นปีๆ จนเม่ารับของไปหมด งบเริ่มไม่โตได้ตามเป้า โรงพยาบาล supply ล้น สิ้นมนต์ขลังหุ้นโรงบาล ….

ถึงจุดนี้วัดกันแล้วว่าหุ้นดีหรือไม่ดีจริง ถ้าไม่ดีจริง น้ำลดตอผุด หุ้นมักจะลงเหว เพราะหุ้นจะถูก de-rating ลงมา และรอดูว่ากำไรเป็นเท่าไหร่ ถ้าดีจริง มีกำไร ยังพอไถๆให้ P/E มันยืนได้ เรียกว่าเป็นระยะ sideway กว้างๆ จนกว่า supply demand จะกลับมา และ smart money จะเข้าตอนนั้นแหละครับ (ไม่ว่าจะจับจุดเทพ หรือว่ามีข่าววงในอะไรก็แล้วแต่)

โดย BottomLiner

อ่านคำศัพท์อื่นๆ ทางการเงินได้ที่ : https://www.finnomena.com/vocab/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Petro (สกุลเงินดิจิทัล)

  Petro (สกุลเงินดิจิทัล) จาก Wikipedia สารานุกรมเสรี ข้ามไปที่การนำทาง ข้ามไปที่การค้นหา ปิโตร โลโก้ Petro นิกาย พหูพจน์ Petros สัญลักษณ์ทิกเกอร์ PTR หน่วยย่อย   1  /  100,000,000 เมเน การพัฒนา ผู้แต่งต้นฉบับ รัฐบาลเวเนซุเอลา รัฐบาลรัสเซีย   (ถูกกล่าวหา)  [1] กระดาษสีขาว กระดาษสีขาว Petro การเปิดตัวครั้งแรก 20 กุมภาพันธ์ 2561  (2 ปีก่อน) เว็บไซต์ www.  petro  .gob  .ve ปิดกั้น explorer Registro  .blockchain  .gob  .ve  / เว็บ เปโตร  (  ₽  ) หรือ petromoneda  ,  [2] เปิดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 2018 เป็น cryptocurrency ที่ออกโดยรัฐบาลของ เวเนซุเอลา   [3]  [4] ณ สิงหาคม 2018  จะไม่ปรากฏที่จะนำมาใช้เป็น สกุลเงิน   [5] ประกาศในเดือนธันวาคม 2017 คาดว่าจะได้รับการสนับสนุนจาก แหล่งสำรอง น้ำมัน และ แร่ธาตุ ของประเทศ และมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริม สกุลเงิน Bolívar Fuerte  ('โบลิวาร์ที่แข็งแกร่ง')  ของเวเนซุเอลาเพื่อ หลีกเลี่ยง มาตรการคว่ำบาตร ของ สหรัฐฯ   [  โต้แย้ง  -...

EOS.IO

  EOS.IO จาก Wikipedia สารานุกรมเสรี ข้ามไปที่การนำทาง ข้ามไปที่การค้นหา EOS สัญลักษณ์ทิกเกอร์ EOS การพัฒนา ผู้แต่งต้นฉบับ Daniel Larimer,  Brendan Blumer  [3] กระดาษสีขาว [3] การเปิดตัวครั้งแรก Dawn 3.0.1-alpha  [1]  / 31 มกราคม 2018  ;  2 ปีที่แล้ว รุ่นล่าสุด EOSIO 2.0.8  [2]  / 7 ธันวาคม 2020  ;  45 วันที่ผ่านมา ที่เก็บรหัส eos.io บน GitHub สถานะการพัฒนา ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนา เขียนใน C ++ ระบบปฏิบัติการ หลายแพลตฟอร์ม ผู้พัฒนา (s) block.one ใบอนุญาต ใบอนุญาต MIT  (โอเพ่นซอร์ส)  [4] เว็บไซต์ eos  .io บัญชีแยกประเภท รูปแบบการประทับเวลา หลักฐานการเดิมพันที่ ได้รับมอบหมาย บล็อกเวลา 500 มิลลิวินาที ปิดกั้น explorer bloks  .io อุปทานหมุนเวียน 896,149,492  (27 กรกฎาคม 2018) block.one ประเภท เอกชน อุตสาหกรรม บล็อกเชน พื้นที่ให้บริการ ทั่วโลก คนสำคัญ Brendan Blumer  (CEO), Daniel Larimer (CTO) ผลิตภัณฑ์ แอปพลิเคชันที่กระจายอำนาจ เว็บไซต์ บล็อก.  one EOS.IO เป็น blockchain โปรโตคอลขึ้นอยู่กับ cryptocur...